ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร. บรรจบ ศรีภา อาจารย์ประจำภาควิชาพยาธิวิทยา ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการกลางที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลกกลุ่มระบาดวิทยา

admin
Read Time:1 Minute, 48 Second

 

คณะแพทยศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร. บรรจบ ศรีภา อาจารย์ประจำภาควิชาพยาธิวิทยา ที่ได้รับการแต่งตั้งจากองค์การอนามัยโลกให้เป็นกรรมการกลางที่ปรึกษากลุ่มโรค Foodborne Disease Epidemiology Reference Group (FERG) ครั้งที่ 2 การทำงานในระดับนานาชาติโดยเฉพาะองค์การอนามัยโลกในฐานะกรรมการและที่ปรึกษาของศาสตราจารย์บรรจบ ทำให้สามารถผลักดันโรคพยาธิใบไม้ในตับเข้าไปสู่บัญชีโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยขององค์การอนามัยโลก (NTDs) ได้สำเร็จ อันเป็นการส่งเสริมให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ

ศาสตราจารย์ ดร. บรรจบ ศรีภา เป็นนักวิจัยอาวุโส คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  • ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านการวิจัยและการควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ดำรงตำแหน่งกรรมการกลางที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลกกลุ่มระบาดวิทยา โรคหนอนพยาธิ (Helminths), Foodborne Disease Burden Epidemiology Reference Group (FERG)
  • ดำรงตำแหน่งประธาน RNAS+ (Regional Network of Asian Schistosomiasis and Other Helminth Zoonoses
  • ดำรงตำแหน่งรองบรรณาธิการของ PLOS Neglected Tropical Diseases, Associate Editor of Tropical Medicine & International Health และคณะบรรณาธิการของวารสารโรคเขตร้อนหลายฉบับ

 

งานวิจัยหลักของศาสตราจารย์บรรจบ มุ่งเน้นไปที่กลไกทางอิมมูโนพยาธิวิทยา (immunopathology) ทำให้เกิดการอักเสบรอบท่อน้ำดีที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับชนิด โอพิสธอร์ชิส วิเวอร์รินี (Opisthorchis viverrini) ซึ่งนำไปสู่การเกิดมะเร็งท่อน้ำดี พร้อมจัดตั้ง “ละว้าโมเดล” โครงการต้นแบบควบคุมและป้องกันพยาธิใบไม้ตับแบบบูรณาการที่ประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมของ IDRC และได้รับการคัดสรรให้ถ่ายทำเป็นภาพยนตร์สารคดีเผยแพร่ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ EcoHealth 2012 และนำเสนอเป็น “Showcase” ในการประชุม GEOHealth 2014 (USA) และการประชุม WHO-NZD 2014 ซึ่งจัดโดยองค์การอนามัยโลก

ศาสตราจารย์บรรจบมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ด้านโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในวารสารชั้นนำในฐานข้อมูล Scopus มากกว่า 250 เรื่อง ผลงานได้รับการอ้างอิงมากกว่า 3,000 ครั้ง มี h-index = 50 สูงสุดในบรรดานักวิจัยภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่นทั้งหมด กว่า 36 ปีในฐานะนักวิชาการศาสตราจารย์บรรจบได้รับรางวัลด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มากมาย  ได้แก่ รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นแห่งประเทศไทย และเมธีวิจัยอาวุโสของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

 

 

 

 

 

 

เรียบเรียง: ญาดา เลิศขจรศักดิ์

0 0
Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleppy
Sleppy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %
Next Post

ขอเชิญเข้าร่วมฟัง Joint-Institute Forum ครั้งที่ 2/2021 ผ่านระบบ Zoom ในหัวข้อ “A One Health Approach to Neglected Tropical Diseases”

ขอเรียนเชิญคณาจารย์ นักวิจัย บุคลากรทางการแพทย์ นั […]

You May Like